[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
โรงเรียนบ้านตาดน้ำพุ
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 1 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ

Close
:) :D :(
:o :p ;)
:| x( :~
(ตัวแสดงอารมณ์)

link banner
e-Learning

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
admin
[ มือใหม่ ]
2
บทความ blog ล่าสุดโดย
แผนการของ NASA ในการส่งดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์admin
ผงชูรส ที่มา-วัตถุดิบ-ประโยชน์และโทษadmin

  

  หมวดหมู่ : ภาษาไทย
เรื่อง : แผนการของ NASA ในการส่งดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์
blog name : admin
ระดับ : [ มือใหม่ ]
เข้าชม : 685
พฤหัสบดี ที่ 13 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2553 ปักหมุดและแบ่งปัน
    

ดวงอาทิตย์ เป็นพลังผลักดันสำคัญเบื้องหลังสภาพภูมิอากาศของโลก แต่ความเปลี่ยนแปลงๆ ในดวงอาทิตย์มีผลกระทบมากเกินกว่าด้านสภาพอากาศบนโลกเรา

ผู้สื่อข่าว Voice of America, Suzanne Presto มีรายงานเกี่ยวกับแผนการของ NASA หรือองค์การอวกาศ สหรัฐฯ ในการส่งดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์เมื่อวันพฤหัสบดี ซึ่งคาดกันว่า ดาวเทียมสังเกตการณ์ดังกล่าวจะส่งภาพของดวงอาทิตย์อย่างหาที่เปรียบไม่ได้กลับมาให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา "สภาพอวกาศ" ที่อาจมีผลกระทบต่อการสื่อสารทางดาวเทียม ระบบการนำร่อง และแม้กระทั่งสายไฟฟ้าบนโลก

ปรากฏการณ์ต่างๆ บนดวงอาทิตย์ ความเปลี่ยนแปลงในสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์นั้น เป็นสาเหตุของสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า "large particle events" หรือ "ปรากฏการณ์อนุภาคขนาดใหญ่" ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อโลกได้ อย่างเมื่อครั้งที่เกิดไฟฟ้าดับในภาคใต้ของสวีเดนเมื่อ 7 ปีมาแล้ว

Dean Pesnell นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ขององค์การอวกาศ สหรัฐฯ หรือ NASA อธิบายว่า เมื่อเกิด "ปรากฏการณ์อนุภาคขนาดใหญ่" บนดวงอาทิตย์ อนุภาคเหล่านั้นจะแผ่กระจายออกไปในห้วงอวกาศในระบบสุริยะ และผ่านเข้ามาทำปฏิกริยากับสนามแม่เหล็กของโลกเรา และอาจก่อกวนหรือยังความเสียหายแก่ระบบกระแสไฟฟ้าบนโลกได้

Dean Pesnell ซึ่งทำงานอยู่ที่ศูนย์ควบคุมการบินอวกาศ Goddard ชานกรุงวอชิงตัน อธิบายว่า ดวงอาทิตย์มีปฏิกริยา และมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และสนามแม่เหล็กที่มีความเปลี่ยนแปลงจะส่งอนุภาคประจุไฟฟ้าออกสู่ระบบสุริยะ หรือเปลี่ยนเป็นการปะทุระเบิด ส่งก๊าซพวยพุ่งออกสู่ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์เอง หรือเกิดการปะทุระเบิดที่ปล่อยสารวัตถุดวงอาทิตย์ออกสู่ห้วงอวกาศ เป็นปริมาณหลายพันล้านตัน

ปรากฏการณ์ต่างๆ ดังกล่าวของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนแปรระดับพลังงาน และการแผ่รังสีในระบบสุริยะของเรา และอาจมีผลกระทบต่อเทคโนโลยี อย่างการสื่อสารโทรคมนาคม และระบบนำร่องต่างๆ บนโลกเราได้

ดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ใหม่นี้จะส่งภาพถ่ายคุณภาพสูง คมชัดลึกกว่าภาพโทรทัศน์ HDTV 10 เท่า และรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ของดวงอาทิตย์ และในสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์กลับมายังโลก คาดว่าข้อมูลและภาพถ่ายเหล่านี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดวงอาทิตย์มากขึ้น และสามารถคาดทำนายพายุสุริยะและปรากฏการณ์อื่นๆ ของดวงอาทิตย์ ที่อาจมีผลกระทบถึงการทำงานของยานอวกาศในวงโคจรรอบโลก ตลอดจนระบบไฟฟ้า ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม และระบบนำร่องทั้งหลายบนโลกได้

ดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ใหม่นี้จะทำงานเป็นเวลาราว 5 ปี.



Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.
รายละเอียดผู้เขียนบทความ blog
blog name :
เจ้าของ blog :
อาชีพ :
สถานที่ทำงาน :
จำนวนบทความใน blog :
ระดับของ blog :
admin
นายชัดสกร พิกุลทอง
ครู/อาจารย์
โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา
2 เรื่อง
[ มือใหม่ ]

ภาษาไทย 5 อันดับล่าสุด

      แผนการของ NASA ในการส่งดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ 13/พ.ค./2553
      ผงชูรส ที่มา-วัตถุดิบ-ประโยชน์และโทษ 24/เม.ย./2553


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ a@gmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป